ในระยะเวลาที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษามีสภาพด้อยลงมากยิ่งขึ้น โครงสร้าง

6

ในระยะเวลาที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษามีสภาพด้อยลงมากยิ่งขึ้น โครงสร้าง ระบบที่รื้อปรับใหม่ไม่เกิดเรื่องการกระจายอำนาจทางการศึกษาในทางปฏิบัติมากนัก วัฒนธรรมองค์กรยังเหมือนเดิม เป็นระบบราชการศึกษา อนุรักษนิยม และติดกรอบการทำงานเชิงระเบียบกฎเกณฑ์แบบแผนดั้งเดิมที่สั่งสมกันมานวัตกรรมแนวคิดใหม่ๆ ไม่สามารถสอดแทรกเข้าสู่กระแสหลัก ระบบใหญ่ที่ปฏิบัติกันจนเคยชินได้มากนักหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ยังคงยึดเนื้อหาและครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดเวลาประชาธิปไตยมีเพียงรูปแบบตายตัว สำเร็จรูปเหมือนกันทั้งประเทศระบบการวัดผลการศึกษามีการปล่อยคุณภาพทุกระดับชั้นจนเข้าสู่การแข่งขันสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษาจึงพบข้อเท็จจริงทั้งปัญหาผลสัมฤทธิ์ที่ตกต่ำทุกรายวิชา เกรดเฟ้อ และมาตรฐานคุณลักษณะเด็กในเชิงคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจทักษะชีวิต คุณธรรมจริยธรรมล้วนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็นอันมาก ความเหลื่อมล้ำเชิงคุณภาพการศึกษาไทยยังปรากฏความแตกต่างมากยิ่งขึ้นขาดแคลนครู ทรัพยากร งบประมาณ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ห่างไกลในชนบทในขณะที่ส่วนกลางยังคงมีความขัดแย้งแตกต่างในเรื่องการถ่ายโอนโรงเรียนจนนำเข้าไปสู่การชะลอตัวของความร่วมมือช่วยเหลือกันในแทบทุกด้านเด็กจำนวนมากกำลังถูกบีบให้ออกจากโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน เข้าสู่วงจรอบายมุขของสังคมที่เต็มไปด้วยสิ่งแวดล้อมอันตรายหลุมดำ และเครือข่ายที่เด็กเข้าสู่ถนนยุวอาชญากรง่ายขึ้นตามลำดับ

เด็กและเยาวชนในปัจจุบันจึงขาดบุคคล ขาดสถาบัน ขาดพื้นที่ ขาดนโยบายที่จะช่วยเหลือดูแลเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริงแต่สังคมกำลังเปิดกำลังให้เด็กและเยาวชนเสี่ยงต่อการเสียคน เสียอนาคต มีปรากฏให้เห็น สร้างกันดาษดื่นในแทบทุกแห่ง ในเชิงนโยบายของรัฐ ต้องเน้นการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติเฉพาะที่ต้องให้ความสำคัญกับนโยบายภาคสังคม การศึกษา ชุมชน ครอบครัว คุณภาพประชากร เด็กและเยาวชนมากยิ่งขึ้นกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ต้องผ่าตัด แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างระบบใหม่ ส่วนกลางเล็กลง กระจายอำนาจการศึกษาแบบเครือข่ายมิใช่โครงสร้างราชการ สร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ให้ทำงานยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าตำแหน่ง เงินตอบแทนวิทยฐานะ ขนาดโรงเรียน การเลื่อนขั้น ระบบการตรวจสอบ และอื่นๆมีรัฐมนตรีและทีมงานทางด้านการเมืองที่มาจากความหลากหลาย มีวิสัยทัศน์ กล้าตัดสินใจ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบเพื่อยกระดับการศึกษาทั้งประเทศ ขจัดปัญหาและอุปสรรคเรื่องการถ่ายโอนการศึกษาระดับพื้นที่ลง กำหนดสัดส่วนของการจัดการศึกษาภาครัฐ ภาคเอกชน ส่วนท้องถิ่น การศึกษาทางเลือกให้ลงตัวใกล้เคียงกัน และมีภารกิจแตกต่างกันไปตามลักษณะการศึกษาพื้นที่รับผิดชอบปัญหาเด็กและเยาวชนในแต่ละท้องถิ่นทุ่มเทงบประมาณลงสู่ภาคการศึกษามากขึ้นเป็นสัดส่วน 35% ของคุณภาพประชากรที่ท้องถิ่นรับโอนภารกิจมาทั้งหมด การบังคับการใช้งบประมาณในสัดส่วนภาคสังคม คุณภาพสิ่งแวดล้อมโครงการที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว การศึกษา คุณภาพการเรียนรู้ คุณธรรมจริยธรรม ความเข้มแข็งของชุมชนเป็นข้อบังคับที่ควรกำหนดไว้ในเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์แผนงบประมาณประจำปี เป็นต้น

This entry was posted in การศึกษา. Bookmark the permalink.

Comments are closed.