ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ

6

ถึงแม้รัฐบาลไทยจะให้ความสำคัญกับการลงทุนทางการศึกษามากขึ้นทุกระดับ ทำให้เยาวชนไทยมีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง แต่เนื่องจากปัญญาความยากจนของคนไทยจำนวนมาก ทำให้เยาวชนที่มีโอกาสได้เข้าเรียนไม่สามารถเรียนได้จนกระทั่งจบ ม.6 หรือ ปวช. และต้องออกกลางคันปีละหลายล้านคน ส่วนผู้ที่สามารถเรียนได้จนจบชั้น ม. 6 หรือ ปวช. ก็มีปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษา เพราะสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนจำนวนมากไม่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้เกิดความสูญเปล่าทั้งทรัพยากรและเวลาที่เยาวชนต้องใช้ไปกับการศึกษาในโรงเรียนปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาของไทยกำลังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่นักการศึกษาของไทยยังหาทางออกไม่ได้ ดูเหมือนยิ่งแก้ยิ่งอีรุงตุงนังหาทางออกไม่เจอ ทั้งๆที่ไปดูงานต่างประเทศกันมาก็มาก

ผลการประเมิน The Learning Curve Index ปี 2557 ของนักเรียนที่เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย จำนวน 40 ประเทศ ปรากฎว่าประเทศเกาหลีใต้ได้อันดับ 1 ญี่ปุ่นอันดับ 2 สิงคโปร์อันดับ 3 ฮ่องกงอันดับ 4 ส่วนประเทศไทยอันดับ 35 ทั้งๆที่ปี 2505 ไทยมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าเกาหลีใต้ ข้อมูลนี้คงบอกได้ว่าผู้นำประเทศของเราตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันพัฒนาการศึกษาได้ดีแค่ไหน? การที่เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาทำใต้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วโดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงกว่าสองหมื่นเหรียญสหรัฐ ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของไทยอยู่ที่ 5,400 เหรียญสหรัฐเท่านั้น นี่คือความแตกต่างที่เกิดขึ้นในเวลาเท่ากัน

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ แต่ประเทศไทยทำไม่สำเร็จคือ คุณภาพผู้สอน ปกติคนที่จะมีอาชีพสอนหนังสือจะต้องเป็นคนที่มีผลการเรียนดี หรือเป็นคนเรียนเก่ง สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงทั่วโลกทุกระดับจะพยามคัดเลือกคนเก่งให้เป็นผู้สอน ในอดีตประเทศไทยเราใครจะเรียนครูต้องเป็นคนเก่งจึงจะเข้าเรียนได้ แต่ในระยะหลังนี้เราไม่สามารถดึงดูดให้คนเก่งมาเรียนครูได้ โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานหาคนเก่งมาเป็นครูยาก ทำให้มีผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของเรามาโดยตลอด ในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จมากในการดึงดูดคนเก่งมาสอนหนังสือหลักสูตรและระบบการเรียการสอน กล่าวคือหลักสูตรต้องเป็นหลักสูตรที่ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของสังคม และมีระบบการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะการคิด การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แต่ปัญหาหลักของระบบการเรียนการสอนของไทยคือการสอนให้ท่องจำ ไม่มีทักษะในการคิดและวิเคราะห์ ทำให้ไม่มีความคิดสร้างสรรค์

This entry was posted in การศึกษา. Bookmark the permalink.

Comments are closed.