จิตวิทยากับการศึกษา

จิตวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทฤษฎีพัฒนาการทฤษฎีทางบุคลิกภาพของบุคคลในระดับอายุต่างๆตั้งแต่ก่อนวัยทารกคือหลังจากมีปฏิสนธิสู่วัยทารกวัยเด็ก วัยรุ่นตอนต้นตอนปลาย วัยผู้ใหญ่และวัยชราที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างล้วนแต่เป็นเรื่องของการปรับตัวทั้งสิ้น

การศึกษา การศึกษานั้นเป็นเรื่องของการสร้างคนเพื่อพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีงามและเปลี่ยนแปลงสถานะภาพทางสังคมได้จิตวิทยาจะช่วยบุคคลในเรื่องของการปรับตัวเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขตามอัตภาพทำอย่างไรที่จะช่วยให้เด็กและบุคคลสามารถปรับตัวที่จะอยู่ในสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างพอดีจิตวิทยากับการศึกษา จึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาสาระทั้งสองสาขาวิชาที่บูรณาการเข้าด้วยกันทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการทดลอง

สาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการศึกษาจิตวิทยามีขอบข่ายกว้างขวางและมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่นๆ ดังนี้

1. จิตวิทยา (Psychology) คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาในปัจจุบันใช้วิธีการวิทยาศาสตร์ซึ่งมักมีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีเกณฑ์ระเบียบแบบแผนจากการศึกษานี้เองทำให้สามารถนำผลที่ได้จากการศึกษามาใช้เป็นประโยชน์ในจิตวิทยาการศึกษา

2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรารวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการความสนใจของคนในวัยต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งเป็นจิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่นและจิตวิทยาวัยผู้ใหญ่

3. จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) เป็นการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีต่อปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม จิตวิทยาสังคมเกี่ยวพันถึงวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมวิทยา (Sociology) และมนุษย์วิทยารวมทั้งเกี่ยวกันถึงสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมากเป็นต้นว่าการเมือง ศาสนา เศรษฐศาสตร์ สุขภาพจิตการศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาแขนงนี้ นอกจะศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ทางสังคมแล้ว ยังเป็นการค้นคว้ากฎเกณฑ์ต่างๆเพื่อพยากรณ์และควบคุมพฤติกรรมเหล่านั้นด้วย

4. จิตวิทยาปกติ (Abnormal Psychology) เป็นการศึกษาถึงความผิดปกติต่างๆ เช่น โรคจิตและโรคประสาทความผิดปกติอันเนื่องจากความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น

5. จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำความรู้และกฎเกณฑ์ทางจิตวิทยาแขนงต่างๆ มาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เช่นนำไปใช้ในการรักษาพยาบาล การให้คำปรึกษาหารือในวงการอุตสาหกรรมการควบคุมผู้ประพฤติผิด เป็นต้น

6. จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning) เป็นการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ธรรมชาติของการเรียนรู้การคิด การแก้ปัญหา การจำ การลืม รวมถึงปัญหา ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

7. จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Psychology of Personality) เป็นการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือแตกต่างจากบุคคลอื่นทั้งในด้านแนวความคิด ทัศนคติตลอดจนการแก้ปัญหาด้วย

8. จิตวิทยาการศึกษา (Education Psychology) เกี่ยวข้องกับเรื่องสภาพการเรียนรู้ประเภทและวิธีการเรียนรู้โรงเรียนสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้เรียน การปรับตัวของครู ความแตกต่างระหว่างบุคคลและการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล

9. จิตวิทยาเปรียบเทียบ (Comparative Psychology) เป็นจิตวิทยาซึ่งว่าด้วยความเหมือนและความแตกต่างในทางพฤติกรรมของอินทรีย์ทั้งหลายศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางพฤติกรรมการเรียนรู้แบบคลาสสิกและการเรียนรู้แบบใช้เครื่องมือทดลองความสามารถในการแยกความแตกต่างการเรียนรู้และการรับรู้

10. จิตวิทยาภาษาศาสตร์ (Poychololinguiotes) เป็นจิตวิทยาซึ่งรวมถึงวิธีการทางจิตวิทยาและทางภาษาศาสตร์เข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการแสดงออกของภาษาทางด้านจิตวิทยาความเคยชินทางภาษาวิธีการใช้ภาษาในทางด้าน Cognitive และติดต่อสื่อสารกัน

11. จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) เป็นจิตวิทยาซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติทางพฤติกรรมของมนุษย์โดยอาศัยหลักการสืบความจริง หรือจากการพิจารณาปัญหาต่าง ๆศึกษาประวัติโดยละเอียดหรืออาศัยหลักวิธีการต่างๆ ทางจิตวิทยา

12. จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) เป็นจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าหาวิธีการและผลต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน การพัฒนาความคิดในงานที่ต้องการความชำนาญชั้นสูง ผลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่องานแรงจูงใจในการทำงานการประเมินผลการทำงาน

This entry was posted in การศึกษา and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.